คุณอยู่ในหน้า
หน้าหลัก > บทความ > ต่วนฆูรู ฮัจยี อับอุลรอฮ์มาน กือแต

ต่วนฆูรู ฮัจยี อับอุลรอฮ์มาน กือแต

ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน เบ็ญอะฮ์หมัด

ประวัติท่านอัฉริยะศาสน์ (อุลามาอฺ) ผู้ก่อตั้งปอเนาะพ่อมิ่งต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน เบ็ญอะฮ์หมัด (นายสาแม็ง กือแต)

กำเนิดท่านอัฉริยะศาสน์ (อุลามาอฺ)ปัตตานีตาม กลางศตวรรษที่ 26 มีลาดียะฮฺ (MILADIYAH) ได้กำเนิดบุคคลซึ่งรู้จักในนามของโต๊ะครูปอเนาะพ่อมิ่ง ต.พ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี นั้นคือต่วนฆูรู ฮัจยี อับอุลรอฮ์มาน กือแต(Tuan Guru Haji Abdulrahman ketae) บิดา ชื่อ นายอะฮฺหมัด เบ็ญเจะตำ(Ahmad Binjetam) มารดาชื่อ นางฮัจเญาะฮฺวันเยาะฮฺ เบ็ญตีวันเตะฮฺ(Hajjah Wanyah Binti Wanteh) ท่านมีญาติพี่น้องรวม 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่หนึ่ง และน้องชาย 1คน ผู้หญิง 1คน ท่านเกิดในวันจันทร์เดือน…………………. ปี 1930 ณ หมู่บ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

ประวัติการศึกษา ท่านเริ่มศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาบ้านพ่อมิ่ง จนจบชั้นปีที่ 3 จากนั้นท่านย้ายไปศึกษาต่อทางด้านศาสนาที่ปอเนาะต่วนฆูรูฮัจยีอับดุลรอฮฺมาน บุตรของท่านโต๊ะยามัน บ้านบางมะรวด หมู่ที่ 1 ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เป็นเวลา 7 ปี นั้นคือตั้งแต่ปี ค.ศ 1940 .ถึง ปี ค.ศ. 1946 จากนั้นย้ายไปศึกษาต่อที่ปอเนาะบืรมีน (ภูมี) อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีและศึกษาต่อที่ปอเนาะเมาะโง อ.มายอ จ.ปัตตานี ในปี 1948 – 1953 รวมเวลาประมาณ 6 ปีหลังจากได้ศึกษาภายในประเทศแล้ว ท่านเดินทางไปศึกษาต่ออีก ณ นครเมกกะฮฺ อัลมูกัรรอมะฮฺ ศึกษาอยู่ที่มัสยิดอัลฮารอม (ซาอุดีอาราเบีย) ในปี 1953 ได้ศึกษาต่อที่มัดราซะหฺอัลซาอูดียะหฺ และศึกษาต่อที่มัอฮัดดารุลอูโลม ประเทศซาอุดีอาราเบีย ปี 1958 สุดท้ายปี 1958–1960 ได้ศึกษาที่สถาบันศึกษาอัสซารีอะห์ มหานครเมกกะฮ์ (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยอุมมูลกูรอ) ในขณะเดียวกันท่านได้ศึกษารวมคณะการศึกษากีตาบลามา (ตำราเก่า) ตำราอิสลามอดีตกาล กับผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ณ นครเมกกะฮฺ โดยเฉพาะท่านอาจารย์ต่วนฆูรูฮัจญีวันอิสมาแอล เบ็ญวันอับดุลกอเดร์ (รูจักในนาม ปะดอแอ มือกอฮฺ) ในขณะที่ศึกษาอยู่ท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยสอนด้วย เป็น 12 ปี ที่ท่านอดทนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ณ นครเมกกะฮฺ หลังจากนั้น ท่านได้กลับมายังแผ่นดินเกิด (ประเทศไทย) และได้ก่อตั้งมูอัสสาซะหฺฯ (มูลนิธิในนาม) และจัดการศึษาในรูปแบบของปอเนาะ (พ่อมิ่ง) พร้อมทั้งเผยแพร่วิชาอิสลามศึกษาต่อสังคมโดยรอบ

ครอบครัวของท่าน ใน ปี 1949 ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน ได้สมรสกับ น.ส.ฟาตีมะหฺ บุตรีของต่วนฆูรูท่านแรกที่หมู่บ้านกัวลาบรูวัส (บ้านบางมะรวดปัจจุบัน) ในขณะอายุ 19 ปี ซึ่งตรงกับปี 1949 และอยู่ได้ไม่นานภรรยาท่านได้เสียชีวิตลงพร้อมลูกสาว แล้วต่อมาท่านได้สมรสกับนางสาวมารียำ บุตรีของต่วนฆูรูอิสมาแอล (ปะดอแอ) ซึ่งเป็นอาจารย์สมัยนั้น ได้บุตรชาย 2 คน ส่วนภรรยาของท่าน (มารียำ) ได้เสียชีวิตในปี 1965 ต่อมาในปี 1965 ท่านได้สมรสกับสางสาวเฟาซียะหฺ เบ็ญตีอะหฺมัด บ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้บุตรชาย 8 คน และบุตรี 6 คน รวม 14 คน ปี 1974 ท่านได้สมรสกับนางสาวกัลซูม เบ็ญตีอิสมาแอล ซึ่งเป็นบุตรีของนางวันสลาเมาะหฺ เบ็ญตี โต๊ะกลาบอ ได้บุตรชาย 3 คน และบุตรี 4 คน รวม 7 คนจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นต่วนฆูรูฮัจยีอับดุลรอฮฺมานได้บุตรชาย 13 คน และบุตรี 11 คน รวมแล้ว 24 คน ( ซึ่งกำเนิดจากภรรยารวม 4 คน)20 ปี แห่งการก่อตั้งปอเนาะพ่อมิ่ง (โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามในปัจจุบัน)

ในปีแห่งการดับอมายมุขในหมู่บ้านพ่อมิ่ง ท่านได้กลับจากมหานครเมกกะฮฺ ในปี พุทธศักราช 2504 ท่านได้บุกเบิกก่อตั้งปอเนาะพ่อมิ่ง บนพื้นที่ 32 ไร่ จากการบริจาคโดยฮัจญีมูฮำหมัดฮานาฟียะหฺ (มะปีเยาะหฺ) พร้อมการสนับสนุนจากบิดาของท่านคือท่านกูโน จากนั้นต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน ได้จัดการซื้อเพิ่มเติมอีก 40 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 72 ไร่ ต่วนฆูรูได้บริจาคเป็นวากัฟทั้งหมด และมีการสนับสนุนจากบุคคลหลายๆท่านร่วมมือกันจัดตั้งเป็นมูอัสสาซะห์ (มูลนิธิในนาม) ตลอดทั้งราษฏรบ้านพ่อมิ่ง, บ้านใหม่, บ้านนาจาก, บ้านนัดปาดัง (ป่าทุ่ง), บ้านกลาง ฯลฯ ให้การสนับสนุนพลังทั้งทรัพย์สิน ร่างกาย และจิดใจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดปอเนาะมูอัสสาซะห์ ซึ่งต่วนฆูรูฯ ได้ปณิธานร่วมกับชาวบ้านดังกล่าวให้เป็นทรัพย์สินศาสนประโยชน์ (ทรัพย์สินวากัฟทางศาสนาอิสลาม) เพื่อเชิญชวนเข้าสู่อิสลามที่ถูกต้องปราศจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ และหลักการที่ขัดแย้งกับหลักการของอิสลามที่แท้จริง ตลอดทั้งอบายมุขอันไม่พึ่งประสงค์ของสังคม ซึ่งนำไปสู่ความพินาศ และความเสียหายต่อครอบครัว และชุมชนอิสลามอันแท้จริง โดยอาศัยขั้นตอนของการศึกษา (ในรูปแบบการสอนแบบปอเนาะ)ต่อมาการศึกษามี ความเจริญ ก้าวหน้า โดยตลอด ต่วนฆูรูฯได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ โรงเรียนบูรณาการมีทั้งภาควิชาศาสนา และภาควิชาสามัญที่ทันสมัย ในสมัยนั้นด้วย ความสำเร็จของต่วนฆูรูนอกจากทางด้านการศึกษาดังกล่าวแล้ว ท่านได้พัฒนาหมู่บ้านพ่อมิ่ง จากทุ่งป่าเสม็ด ซึ่งเป็นพื้นที่หญ้าแห้งแล้งกลายเป็นหมู่บ้านที่มีชีวิต ปราศจากความขัดแย้ง ดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้องแห่งศาสนศาสตร์กำหนดไว้ เกิดความสุขบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง

ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน เป็นบุคคลที่มีบทบาทที่สำคัญยิ่ง ในเรื่องการตีความในหลักการของอิสลามที่ถูกต้องของสังคมที่มีความขัดแย้งทาง ศาสนา และความเชื่อต่อสรรพสิ่งที่ผิดๆ ทั้งหลายด้วย ต่วนฆูรูฮัยญีอับดุลรอฮฺมาน ถือเป็นผู้อัฉจริยศาสน์แห่งปัตตานีต่วน ฆูรูนอกจากเป็นผู้เชี่ยวชาญศาสนศาสตร์ด้านการศึกษาแก่กุลบุตร กุลธิดาและสังคมทั่วไปแล้ว ท่านเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ที่นักวิชาการอิสลามศึกษา มอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ศาสน์อิสลามแห่งปัตตานีครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2515 ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย :

1. ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน อะฮฺหมัด ปอเนาะพ่อมิ่ง ประธานกรรมการTuanguru Haji Abdulrahman Ahmad Pondok Poming

2. ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลลอฮฺ ญาบี หนองจิก กรรมการTuanguru Haji Abdullah Yabee Nongchit

3. อุสตาซฮัจญีต่วนฮาซัน โตะกูบาฮา ปูยุด กรรมการUstaz Haji Tuanhasan Tokubaha Puyud

4. ต่วนฮัจญีมูฮำหมัดาอามีน โต๊ะมีนา เลขานุการทั่วไปTuan Haji Muhammad Amin Tormina

5. ต่วนฆูรูฮัจญียูโซฟ วันมูซา ปอเนาะบานา เลขานุการเฉพาะTuanguru Haji Yusuf Onemusa Pondok Bana

6. ต่วนฮัจญีไซนุลอาบีดีน โต๊ะมีนา ผู้ช่วยเลขานุการTuan Haji Sainulabideen Tormina

7. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลอาซีซ อับดุลวาฮับ ประธานกรรมการอิสลาม กรรมการTuan Guru Haji Abdulaziz Abdulwahab

8. ต่วนฆูรุฮัจญีปะติ ซูปา ปอเนาะกอตอ กรรมการTuan Guru Haji Pokteh Supa Pondok korto

9. ต่วนฆูรุฮัจญีมูฮำหมัดฮูเซ็น กรรมการTuan Guru Haji Muhammad Husen

10. ต่วนฆูรุฮัจญีอิดเรส วันดรามัน กรรมการTuan Guru Haji Idris Waederamae

11. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลกอเดร์ มูฮำหมัดตอยิบ ปะเงาะเดร์ กรรมการTuan Guru Haji Abdulqodir Muhammadtoyib

12. ต่วนฆูรุฮัจญีเจะเห็ง ลาเตะ กรรมการTuan Guru Haji Jeheng Lateh

13. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลเลาะหฺ ปอเนาะบือนังกือบง กรรมการTuan Guru Haji Abdullah Pondok Benangkebong

14.ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลวาฮับ อับดุลาอาซิ ปอเนาะนาประดู่ กรรมการtuanGuru Haji Abdulwahab Abdulaziz Pondok Napradu

15. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน จะปะกียา ปอเนาะบราโอ กรรมการTuan Guru Haji Abdulrahman Japakiya Pondok Brao

16. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลลาเตฟ มูฮำหมัดนุร ปอนาะจรังบาตู กรรมการTuan Guru Haji Abdullatif Pondok Jerangbatu

17. ต่วนฆูรุฮัจญีอัหหมัด โตะลุง ปูยุด กรรมการTuan Guru Haji Ahmad Torlung Puyud

18. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลกอเดร์ เงาะ ปอเนาะวากัฟบูดี กรรมการTuan Guru Haji Abdulqodir Koah Pondok Wakafbudi

19. ต่วนฆูรุฮัจญีฮัมเซาะ อับดุลมานัฟ กรรมการTuan Guru Haji Hamsah Abdulmanaf

20. ต่วนฆูรุฮัจญีวันอาลี ยะอฺโกบ กรรมการTuan Guru Haji One Alee Yakob

21. ต่วนฆูรุฮัจญีอับดุลกอเดร์ ปอเนาะบืนดังราเมาะหฺ กรรมการTuan Guru Haji Abdulqodir Pondok Benangramah

22. ต่วนฆูรุฮัจญีอะหฺหมัด หนองจิก ปรีกี กรรมการTuan Guru Haji Ahmad Nongjit Priqi

คณะกรรมการดังกล่าวข้างต้นมีความประสงค์เพื่อมีเจตนารมณ์ดังนี้

(1) สมัครสมานสามัคคี ระหว่างผู้เชี้ยวชาญ

(2) ตีความรายละเอียด กฎและบทบัญญัติเกี่ยวกับศาสตร์อิสลาม

(3) ให้ความร่วมมือกัน และบริการเรื่องศาสนศาสตร์แก่ชุมชน

(4) เผยแพร่หลักการสอนและการกำหนดการตามบทบัญญัติของศาสนศาสตร์อิสลาม

การฮิจเราะฮฺ (เดินทาง) ไปตั้งหลักแหล่ง ณ รัฐตรังกานู ประเทศ มาเลเซียด้วย สาเหตุอันแนวแน่ และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ในปี 1981 ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน ได้ฮิจเราะฮฺ (เดินทาง) ไปยังรัฐ ตรังฆานู มาเลเซีย และได้รับการแต่งตั้งเป็นปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญศาสนศาสตร์อิสลาม สืบทอดความรู้ และเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยอิสลามสุลต่านไซนัลอาบีดีน (Kusza) ระหว่างปี 1982 ถึ่งปี 1997 เป็นเวลา 15 ปี ต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการศาสนาอิสลาม (Maidam) แห่งรัฐตรังฆานูในปี 1996 จาก ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ที่ต่วนฆูรูฯ ได้ดำเนินการที่ปอเนาะพ่อมิ่ง ปัตตานี ต่วนฆูรูฯ ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาศาสน์อิสลาม ซึ่งเป็นสถาบันปอเนาะ ในพื้นที่ที่ต่วนฆูรูอาศัยอยู่นั้นคือกัวลาอีบาย รัฐตรังฆานู ในปี 1999 และได้ตั้งชื่อว่า “สถาบันปอเนาะดารุสสาลาม” ซึ่งเวลานั้นมีนักศึกษามีนักศึกษา 72 คน ชาย 50 คน หญิง 22 คน ดำเนินการสอนหลักสูตรกีตาบ (ตำราอิสลามอดีตกาล) ในรูปแบบของโรงเรียน (สถาบันปอเนาะแบบทันสมัย) ตามหลักสูตรอิสลามศาสน์

ช่วงเวลาที่ได้ปฏิรูป การสอนอยู่ที่สถาบันฯ ต่วนฆูรูฯ ได้รับเชิญให้ทำการสอน ณ มัสยิดต่างๆ ของรัฐตรังฆานู บรรยายธรรม ตามรายการวิทยุกระจ่ายเสียง ตลอดทั้งได้รับเชิญจากชุมชนไปปาฏกถาธรรมตามมัสยิดและหมู่บ้านตามรัฐต่างๆ ในมาเลเซีย.ตลอดชีวิตของต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน พ่อมิ่ง มุ่งมานะ อุทิศตน ให้ความรู้ ในแนวทางอันแท้จริงของอิสลาม ทำให้ท่านมีชื่อเสียงอันบริสุทธิ์ งดงาม ด้านพฤติกรรม และจริยธรรมที่สำคัญท่านหนึ่งในแวดวงนักวิชาการอิสลามของมาเลเซีย กระทั้งก่อนท่านสิ้นท่านได้รับพระราชทาน เป็นดาโต๊ะต่วนฆูรูฮัจญีอับดุลรอฮฺมาน อะฮฺหมัด จาก ซุลต่านตรังฆานู ดารุลอีมาน

การสูญเสียบุคลากรอัจฉริยศาสน์ต่วนฆูรู ฮัจญีอับดุลรอฮ์มาน ท่านได้กลับเข้าสู่ในความประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในวันอังคาร ที่ 26 ซอฟัรฺ ฮ.ศ. 1429 ซึ่งตรงกับวันอังคาร ที่ 4 มีนาคม 2551 เวลา 07.00 น. ณ รัฐตรังฆานู ดารุลอีมานได้ทำการละหมาดญีนาซะฮฺ (ศพ) ที่มัสยิดสถาบันปอเนาะ ดารุสสาลาม กัวลาอีบาย ในวันดังกล่าวข้างต้น เวลา 17.00 น. และญีนาซะฮฺ ต่วนฆูรู ได้เข้าสู่มาตุภูมิ ที่สุสานกัวลาอีบาย รัฐตรังฆานู

ونسـأل الله لنا ولكم الهداية والتوفيق وجزاء كم الله خيرا

Top